บทความ

Visual Studio เปิดตัวฟีเจอร์ IntelliCode เทรน AI เรียนรู้โค้ดจากเทพ แล้วมาแนะนำเรา

รูปภาพ
Read more about ช็อควงการ ไมโครซอฟท์เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้ Notepad ตัดบรรทัดแบบยูนิกซ์ได้แล้ว   5 comments นักพัฒนาที่ใช้ Visual Studio คงรู้จักฟีเจอร์ช่วยเติมโค้ด IntelliSense กันเป็นอย่างดี ล่าสุดไมโครซอฟท์ยกระดับมันอีกขั้น และเปลี่ยนชื่อเป็น   IntelliCode จุดแตกต่างสำคัญของ IntelliCode คือไมโครซอฟท์เทรน AI ให้อ่านโค้ดคุณภาพระดับ 100 ดาวบน GitHub กว่า 2,000 โครงการเพื่อศึกษาว่าโค้ดที่ดีเป็นอย่างไร จากนั้นนำโมเดลที่เรียนได้มาประยุกต์ใช้กับโค้ดที่เรากำลังเขียนอยู่ สิ่งที่ IntelliCode จะทำให้เราคือช่วยแนะนำโค้ดจาก API อย่างแม่นยำมากขึ้น เหมาะกับบริบทและสถานการณ์ของโค้ดในแต่ละบรรทัดที่แตกต่างกันออกไป แถม IntelliCode จะยังช่วยเราเขียนคอนฟิกไฟล์ .editorconfig ให้เหมาะกับสไตล์การเขียนโค้ดของเรา เพื่อให้โค้ดออกมาเป็นระเบียบและสม่ำเสมอด้วย

ช็อควงการ ไมโครซอฟท์เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้ Notepad ตัดบรรทัดแบบยูนิกซ์ได้แล้ว

รูปภาพ
ในงาน Microsoft Build 2018 มีประกาศเล็กๆ ที่น่าสนใจเพราะแอพที่ไม่เคยอัพเดตมานานแล้วอย่าง Notepad จะได้ฟีเจอร์ใหม่กับเขาด้วย ฟีเจอร์ที่ว่าคือ Notepad จะสามารถตัดบรรทัดแบบ Linux/Unix ได้เป็นครั้งแรก ส่งผลให้การใช้ Notepad เปิดไฟล์ข้อความที่สร้างจากระบบปฏิบัติการฝั่งยูนิกซ์จะไม่ติดกันเป็นพรืดแล้ว ระบบปฏิบัติการฝั่งยูนิกซ์ใช้อักขระตัดบรรทัดเพียงตัวเดียวคือ line feed (LF หรือ \n) ส่วนวินโดวส์ต้องใช้อักขระสองตัวคือ CR กับ LF (carriage return หรือ \r) ร่วมกัน ทำให้การตัดบรรทัดของไฟล์ข้อความระหว่างสองระบบปฏิบัติการมีปัญหามาหลายสิบปี ( รายละเอียด ) แม้ editor รุ่นใหม่ๆ จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้มานานแล้ว แต่ Notepad ที่มากับวินโดวส์ทุกเครื่องยังมีปัญหาเรื่องนี้มาตลอด การแก้ปัญหาครั้งนี้เป็นผลมาจากนโยบายของไมโครซอฟท์ ที่ต้องการให้วินโดวส์กลายเป็นระบบปฏิบัติการที่ดีที่สุดสำหรับนักพัฒนาไม่ว่าค่ายไหน ในประกาศครั้งนี้ยังรวมการปรับปรุง Hyper-V w/XRDP for Linux และประกาศว่า Android Emulator จะทำงานร่วมกับ Hyper-V ได้ด้วย ไมโครซอฟท์ยังไม่ระบุว่า Notepad จะได้ฟีเจอร์นี้เมื่อไร แต่คาดว่าจะเพิ่

Cambridge Analytica ถูกสั่งให้คืนข้อมูลส่วนตัวที่ได้มาแก่คนที่ต้องการเอาคืน

รูปภาพ
สืบเนื่องจาก Cambridge Analytica ประกาศปิดบริษัทเนื่องจากเหตุการณ์อื้อฉาวข้อมูลหลุดกับ Facebook   สำนักงานข้อมูลในอังกฤษ หรือ ICO สั่งให้ CA ส่งข้อมูลที่ตนมีทั้งหมดคืนให้แก่เจ้าของข้อมูล โดยข้อมูลที่ CA ได้ไป เป็นข้อมูลผู้ใช้ Facebook ที่ Kogan ได้มาจาก API แบบเปิดของ Facebook ในสมัยนั้น (ตอนนี้ปิดแล้ว) อ่านรายละเอียดย้อนหลังได้   ที่นี่ เรื่องของเรื่องคือ มีศาสตราจารย์คนหนึ่งชื่อ David Carroll ไปขอให้ CA คืนข้อมูลที่บริษัทเก็บไปให้เขา ปรากฏว่าไม่ได้รับผลตอบรับที่น่าพอใจ Carroll จึงไปฟ้องร้องต่อคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลอังกฤษหรือ ICO โดยให้เหตุผลว่า CA ไม่ได้ให้รายละเอียดที่ชัดเจนพอว่าเอาข้อมูลเขาไปทำอะไรบ้าง และจากการที่ CA ปิดตัวไป ICO จึงตั้งข้อสังเกตว่า บริษัทจะจัดการกับข้อมูลที่ได้ไปอย่างมิชอบอย่างไรต่อไป จึงเป็นเหตุให้ ICO ต้องสั่งให้ CA คืนข้อมูลให้ Carroll ไม่เช่นนั้นก็ต้องไปเจอกันในศาล